วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ศาลยุติธรรมไทย

    
             ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น

ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น
คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น



ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย

ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว



สำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา

แหล่งข้อมูลอื่น
เว็บไซต์ศาลยุติธรรม
กระบบศาลในประเทศไทย

ศาลยุติธรรม ศาลชั้นต้น (ศาลแพ่ง · ศาลอาญา · ศาลจังหวัด · ศาลแขวง · ศาลเยาวชนและครอบครัว · ศาลแรงงานกลาง · ศาลภาษีอากรกลาง · ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ · ศาลล้มละลายกลาง) · ศาลอุทธรณ์ · ศาลฎีกา (แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง)

ศาลปกครอง ศาลปกครองชั้นต้น · ศาลปกครองสูงสุด

ศาลรัฐธรรมนูญ (คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)

ศาลทหาร ศาลทหารในเวลาปกติ · ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ · ศาลอาญาศึก

ไม่มีความคิดเห็น: